วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

โอเวอร์โหลด

โอเวอร์โหลด

6.2 โอเวอร์โหลดทำงานด้วยความร้อน(Thermal Overload Relay)
     โอเวอร์โหลดประกอบด้วยขดลวดความร้อน
(Heater) พันอยู่บนแผ่นไบเมทัล (Bimetal) ซึ่งทำ
จากโลหะ 2 ชนิดเชื่อมติดกันโก่งตัวได้เมื่อเกิด
ความร้อนขึ้น ขดลวดความร้อนเป็นทางผ่านของ
กระแสจากแหล่งจ่ายไปยังมอเตอร์ เมื่อกระแส
ที่ไหลเข้ามอเตอร์มีค่าสูง ทำให้ชุดขดลวดความร้อน
เกิดความร้อนสูงขึ้น เป็นผลให้แผ่นไบเมทัลร้อน
และโก่งตัวดันให้หน้าสัมผัสปกติปิดของโอเวอร์โหลด
ที่ต่ออนุกรมอยู่กับวงจรควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแส
ออกจากคอล์ยแม่เหล็กของคอนแทกเตอร์ จึงทำให้
หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทกเตอร์
ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายเป็นการป้องกัน
มอเตอร์จากความเสียหายได้

     โอเวอร์โหลดรีเลย์มีทั้งแบบธรรมดา คือ เมื่อ
แผ่นไบเมทัลงอไปแล้วจะกลับมาอยู่ตำแหน่ง
เดิม เมื่อเย็นตัวลงเหมือนในเตารีด กับแบบที่มี
รีเซ็ท (Reset) คือ เมื่อตัดวงจรไปแล้ว หน้าสัมผัส
จะถูกล็อกเอาไว้ ถ้าต้องการจะให้วงจรทำงานอีกครั้ง
ทำได้โดยกดที่ปุ่ม Reset ให้หน้าสัมผัสกลับมาต่อ
วงจรเหมือนเดิม 


สัญลักษณ์ของโอเวอร์โหลดรีเลย์แบบมี Reset

   ลักษณะเมื่อเกิดการโอเวอร์โหลดหน้าสัมผัส
จะเปิดออกและจะถูกล็อกเอาไว้ ถ้าต้องการให้

Over Load Relay

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load relay)

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load relay) 

โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Over Load relay) คืออะไร

โอเวอร์โหลด (Over Load relay) เป็นอุปกรณ์ป้องกันอุปกรณ์ไฟฟ้า เกินกำลังหรือป้องกันมอเตอร์ ไม่ให้เกิดการเสียหาย เมื่อมีกระแสไหลเกินพิกัด โดยมีส่วนประกอบภายนอกที่สำคัญ ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ ดังนี้
1. ปุ่มปรับกระแส(RC.A)
2. ปุ่มทริพ(TRIP)
3. ปุ่มรีเซ็ท(RESET)
4. จุดต่อไฟเข้าเมนไบมีทอล
5. จุดต่อไฟออกจากเมนไบมีทอล
6. หน้าสัมผัสช่วยปกติปิด(N.O.)
7. หน้าสัมผัสช่วยปกติเปิด(N.C.)
overload_relay

หลักการทำงาน 
โอเวอร์โหลดมี ขดลวดความร้อน (Heater) พันกับแผ่นไบเมทัล (Bimetal)(แผ่นโลหะผลิตจากโลหะต่างชนิดกันเชื่อมติดกัน เมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว ขดลวดความร้อนซึ่งเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปมอเตอร์ เมื่อกระแสไหลเข้าสูงในระดับค่าหนึ่ง ส่งผลขดลวดความร้อนทำให้แผ่นไบเมทัลร้อน และ โก่งตัว ดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด N.C. ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้า จากคอล์ยแม่เหล็กของคอนแทกเตอร์ ทำให้หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทกเตอร์ ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่าย ไฟ ป้องกันมอเตอร์ความเสียหาย จากไฟเกินได้ 

ชนิดของ Overload Relay

โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบธรรมดา คือ เมื่อแผ่นไบเมทัลงอไปแล้วจะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อเย็นตัวลงเหมือนในเตารีด 
ภาพ Overload Relay

โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบที่มีรีเซ็ท (Resetคือ เมื่อตัดวงจรไปแล้ว หน้าสัมผัสจะถูกล็อกเอาไว้ ถ้าต้องการจะให้วงจรทำงานอีกครั้ง ทำได้โดยกดที่ปุ่ม Reset ให้หน้าสัมผัสกลับมาต่อวงจรเหมือนเดิม 
อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงานอุตสาหกรรม
สัญลักษณ์ แบบมี Reset
อุปกรณ์ไฟฟ้าโรงงาน โอเวอร์โหลด รีเลย์
เมื่อไฟเกิน หน้าสัมผัสเปิด ต้องกด Reset

Magnetic Contactor Relay

แมกเนติกคอนแทกเตอร์ รีเลย์

แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) และ รีเลย์(Relay) 

แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) และ รีเลย์(Relay)

 


แมกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)
       มกเนติกคอนแทกเตอร์ (Magnetic Contactor) หรือแมกเนติกสวิทซ์ (Magnetic Switch)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า ในการปิดเปิดของหน้าสัมผัสนั้นอาศัยจะอำนาจแรงแม่เหล็ก สามารถประยุกต์ใช้กับวงจรควบคุมต่างๆ เช่น วงจรควบคุมมอเตอร์ เป็นต้น
ส่วนประกอบสำคัญของแมกเนติกคองแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)
 
1. Coil หรือ ขดลวดสำหรับสร้างสนามแม่เหล็ก
2. Spring เป็นสปริงสำหรับผลัก Moving Contact ออกเมื่อไม่มีกระแสไปเลี้ยง Coil
3. Moving Core เป็นแกนเหล็กที่สามารถเคลื่อนที่ได้
4. Contact หรือ หน้าสัมผัส เป็นส่วนประกอบที่ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้า
5. Stationary Core เป็นแกนเหล็กที่อยู่กับที่
 
 
หลักการทำงานของแมกเนติกคองแทกเตอร์ (Magnetic Contactor)
      เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็ก(Solidnoid)  ที่ขากลางของแกนเหล็กจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กจะสามารถชนะแรงสปริงได้ ดึงให้แกนเหล็กชุดที่เคลื่อนที่ (Moving Contact) เคลื่อนที่ลงมาพร้อมกับหน้าสัมผัส คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือ คอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดก็จะกลับไปสู่สภาวะเดิม ดังรูปข้างล่าง
การทำงานของรีเลย์
          เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์มีหลักการทำงานคล้ายกับ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโซลินอยด์ (solenoid) หรือสามารถเรียกว่าเป็นแมกเนติกคอนแทกชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ รีเลย์ใช้ในการควบคุมวงจร ไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย รีเลย์เป็นสวิตช์ควบคุมที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทคือ
  • รีเลย์กำลัง (power relay)หรือมักเรียกกันว่าคอนแทกเตอร์ (Contactor or Magneticcontactor)ใช้ในการควบคุมไฟฟ้ากำลัง มีขนาดใหญ่กว่ารีเลย์ธรรมดา
  • รีเลย์ควบคุม (control Relay) มีขนาดเล็กกำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้ในวงจรควบคุมทั่วไปที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากนัก หรือเพื่อการควบคุมรีเลย์หรือคอนแทกเตอร์ขนาดใหญ่ รีเลย์ควบคุม บางทีเรียกกันง่ายๆ ว่า "รีเลย์"
การแบ่งชนิดของรีเลย์สามารถแบ่งได้ 11 แบบ คือ
    ชนิดของรีเลย์แบ่งตามลักษณะของคอยล์ หรือ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน (Application) ได้แก่รีเลย์ดังต่อไปนี้
 รีเลย์กระแส (Current relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยใช้กระแสมีทั้งชนิดกระแสขาด (Under- current) และกระแสเกิน (Over current)
รีเลย์แรงดัน (Voltage relay) คือ รีเลย์ ที่ทำงานโดยใช้แรงดันมีทั้งชนิดแรงดันขาด (Under-voltage) และ แรงดันเกิน (Over voltage)
รีเลย์ช่วย (Auxiliary relay) คือ รีเลย์ที่เวลาใช้งานจะต้องประกอบเข้ากับรีเลย์ชนิดอื่น จึงจะทำงานได้
รีเลย์กำลัง (Power relay) คือ รีเลย์ที่รวมเอาคุณสมบัติของรีเลย์กระแส และรีเลย์แรงดันเข้าด้วยกัน
รีเลย์เวลา (Time relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4แบบ คือ
รีเลย์กระแสเกินชนิดเวลาผกผันกับกระแส (Inverse time over current relay) คือ รีเลย์ ที่มีเวลาทำงานเป็นส่วนกลับกับกระแส
รีเลย์กระแสเกินชนิดทำงานทันที (Instantaneous over current relay) คือรีเลย์ที่ทำงานทันทีทันใดเมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินกว่าที่กำหนดที่ตั้งไว้
รีเลย์แบบดิฟฟินิตไทม์เล็ก (Definite time lag relay) คือ รีเลย์ ที่มีเวลาการทำงานไม่ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของกระแสหรือค่าไฟฟ้าอื่นๆ ที่ทำให้เกิดงานขึ้น
รีเลย์แบบอินเวอสดิฟฟินิตมินิมั่มไทม์เล็ก (Inverse definite time lag relay) คือ รีเลย์ ที่ทำงานโดยรวมเอาคุณสมบัติของเวลาผกผันกับกระแส (Inverse time) และ แบบดิฟฟินิตไทม์แล็ก (Definite time lag relay) เข้าด้วยกัน
รีเลย์กระแสต่าง (Differential relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยอาศัยผลต่างของกระแส
รีเลย์มีทิศ (Directional relay) คือรีเลย์ที่ทำงานเมื่อมีกระแสไหลผิดทิศทาง มีแบบรีเลย์กำลังมีทิศ (Directional power relay) และรีเลย์กระแสมีทิศ (Directional current relay)
รีเลย์ระยะทาง (Distance relay) คือ รีเลย์ระยะทางมีแบบต่างๆ ดังนี้
รีแอกแตนซ์รีเลย์ (Reactance relay)
อิมพีแดนซ์รีเลย์ (Impedance relay)
โมห์รีเลย์ (Mho relay)
โอห์มรีเลย์ (Ohm relay)
โพลาไรซ์โมห์รีเลย์ (Polaized mho relay)
ออฟเซทโมห์รีเลย์ (Off set mho relay)
- รีเลย์อุณหภูมิ (Temperature relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้
- รีเลย์ความถี่ (Frequency relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานเมื่อความถี่ของระบบต่ำกว่าหรือมากกว่าที่ตั้งไว้
 
- บูคโฮลซ์รีเลย์ (Buchholz ‘s relay) คือรีเลย์ที่ทำงานด้วยก๊าซ ใช้กับหม้อแปลงที่แช่อยู่ในน้ำมันเมื่อเกิด      ฟอลต์ ขึ้นภายในหม้อแปลง จะทำให้น้ำมันแตกตัวและเกิดก๊าซขึ้นภายในไปดันหน้าสัมผัส ให้รีเลย์ทำงาน

อุปกรณ์Staet Reiay

อุปกรณ์สตาร์ทรีเลย์

อุปกรณ์สตาร์ทรีเลย์ 

ประเภทของรีเลย์

เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่เป็นสวิตช์โดยมีหลักการทำงานคล้ายกับ ขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโซลินอยด์ (solenoid) รีเลย์ใช้ในการควบคุมวงจร ไฟฟ้าได้อย่างหลากหลาย รีเลย์เป็นสวิตช์ควบคุมที่ทำงานด้วยไฟฟ้า แบ่งออกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 2 ประเภทคือ
  1. รีเลย์กำลัง (power relay) หรือมักเรียกกันว่าคอนแทกเตอร์ (Contactor or Magneticcontactor)ใช้ในการควบคุมไฟฟ้ากำลัง มีขนาดใหญ่กว่ารีเลย์ธรรมดา
  2. รีเลย์ควบคุม (control Relay) มีขนาดเล็กกำลังไฟฟ้าต่ำ ใช้ในวงจรควบคุมทั่วไปที่มีกำลังไฟฟ้าไม่มากนัก หรือเพื่อการควบคุมรีเลย์หรือคอนแทกเตอร์ขนาดใหญ่ รีเลย์ควบคุม บางทีเรียกกันง่าย ๆ ว่า "รีเลย์"

ชนิดของรีเลย์

การแบ่งชนิดของรีเลย์สามารถแบ่งได้ 11 แบบ คือ
ชนิดของรีเลย์แบ่งตามลักษณะของคอยล์ หรือ แบ่งตามลักษณะการใช้งาน (Application) ได้แก่รีเลย์ดังต่อไปนี้
  1. รีเลย์กระแส (Current relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยใช้กระแสมีทั้งชนิดกระแสขาด (Under- current) และกระแสเกิน (Over current)
  2. รีเลย์แรงดัน (Voltage relay) คือ รีเลย์ ที่ทำงานโดยใช้แรงดันมีทั้งชนิดแรงดันขาด (Under-voltage) และ แรงดันเกิน (Over voltage)
  3. รีเลย์ช่วย (Auxiliary relay) คือ รีเลย์ที่เวลาใช้งานจะต้องประกอบเข้ากับรีเลย์ชนิดอื่น จึงจะทำงานได้
  4. รีเลย์กำลัง (Power relay) คือ รีเลย์ที่รวมเอาคุณสมบัติของรีเลย์กระแส และรีเลย์แรงดันเข้าด้วยกัน
  5. รีเลย์เวลา (Time relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ คือ
    1. - รีเลย์กระแสเกินชนิดเวลาผกผันกับกระแส (Inverse time over current relay) คือ รีเลย์ ที่มีเวลาทำงานเป็นส่วนกลับกับกระแส
    2. - รีเลย์กระแสเกินชนิดทำงานทันที (Instantaneous over current relay) คือรีเลย์ที่ทำงานทันทีทันใดเมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินกว่าที่กำหนดที่ตั้งไว้
    3. - รีเลย์แบบดิฟฟินิตไทม์เล็ก (Definite time lag relay) คือ รีเลย์ ที่มีเวลาการทำงานไม่ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของกระแสหรือค่าไฟฟ้าอื่นๆ ที่ทำให้เกิดงานขึ้น
    4. - รีเลย์แบบอินเวอสดิฟฟินิตมินิมั่มไทม์เล็ก (Inverse definite time lag relay) คือ รีเลย์ ที่ทำงานโดยรวมเอาคุณสมบัติของเวลาผกผันกับกระแส (Inverse time) และ แบบดิฟฟินิตไทม์แล็ก (Definite time lag relay) เข้าด้วยกัน
  6. รีเลย์กระแสต่าง (Differential relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานโดยอาศัยผลต่างของกระแส
  7. รีเลย์มีทิศ (Directional relay) คือรีเลย์ที่ทำงานเมื่อมีกระแสไหลผิดทิศทาง มีแบบรีเลย์กำลังมีทิศ (Directional power relay) และรีเลย์กระแสมีทิศ (Directional current relay)
  8. รีเลย์ระยะทาง (Distance relay) คือ รีเลย์ระยะทางมีแบบต่างๆ ดังนี้
    1. - รีแอกแตนซ์รีเลย์ (Reactance relay)
    2. - อิมพีแดนซ์รีเลย์ (Impedance relay)
    3. - โมห์รีเลย์ (Mho relay)
    4. - โอห์มรีเลย์ (Ohm relay)
    5. - โพลาไรซ์โมห์รีเลย์ (Polaized mho relay)
    6. - ออฟเซทโมห์รีเลย์ (Off set mho relay)
  9. รีเลย์อุณหภูมิ (Temperature relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้
  10. รีเลย์ความถี่ (Frequency relay) คือ รีเลย์ที่ทำงานเมื่อความถี่ของระบบต่ำกว่าหรือมากกว่าที่ตั้งไว้
  11. บูคโฮลซ์รีเลย์ (Buchholz ‘s relay) คือรีเลย์ที่ทำงานด้วยก๊าซ ใช้กับหม้อแปลงที่แช่อยู่ในน้ำมันเมื่อเกิด ฟอลต์ ขึ้นภายในหม้อแปลง จะทำให้น้ำมันแตกตัวและเกิดก๊าซขึ้นภายในไปดันหน้าสัมผัส ให้รีเลย์ทำงาน

มอเตอร์+Capacitor

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับคาปาซิเตอร์มอเตอร์(Capacitor motor)
               คาปาซิสตอร์เตอร์เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส ที่มีลักษณะคล้ายสปลิทเฟสมอเตอร์มากต่างกันตรงที่มีคาปาซิเตอร์เพิ่มขึ้นมา ทำให้มอเตอร์แบบนี้มีคุณสมบัติพิเศษกว่าสปลิทเฟสมอเตอร์ คือมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงใช้กระแสขณะสตาร์ทน้อยมอเตอร์ชนิดนี้มีขนาดตั้งแต่ 1/20  แรงม้าถึง 10  แรงม้า มอเตอร์นี้นิยมใช้งานเกี่ยวกับ ปั๊มนํ้า เครื่องอัดลม ตู้แช่ ตู้เย็น ฯลฯ
        ส่วนประกอบของคาปาซิเตอร์มอเตอร์โครงสร้างของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เหมือนกับแบบสปลิทเฟส
เกือบทุกอย่าง คือ
     1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
     2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด 2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน
     3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง ( Bush ) หรือตลับลูกปืน ( Ball bearing ) สำหรับรองรับเพลา
     4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser
 
1. โรเตอร์เป็นแบบกรงกระรอก
 
2. สเตเตอร์ประกอบด้วยขดลวด2 ชุด คือ ชุดสตาร์ทและชุดรัน
 
 3. ฝาปิดหัวท้ายประกอบด้วย ปลอกทองเหลือง( Bush )
หรือตลับลูกปืน( Ball bearing )  สำหรับรองรับเพลา

     
4. คาปาซิเตอร์หรือคอนเดนเซอร์ ( Capacitor or Condenser)
    ที่ใช้กับมอเตอร์แบบเฟสเดียวมี 3 ชนิดคือ
1. แบบกระดาษหรือPaper capasitor
2. แบบเติมนํ้ามันหรือ Oil -filled capasitor
3. แบบนํ้ายาไฟฟ้าหรือElectrolytic capasitor

     ชนิดของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 

     คาปาซิเตอร์มอเตอร์แบ่งออกเป็น 3 แบบคือ

     1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )
     2..คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor )
     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )

     หลักการทำงานของคาปาซิเตอร์มอเตอร์ 

     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์เหมือนกับสปลิทเฟส แต่วงจรขดลวดสตาร์ทพันด้วยขดลวดใหญ่ขึ้นกว่าสปลิทเฟส และพันจำนวนรอบมากขึ้นกว่าขดลวดชุดรัน แล้วต่อตัวคาปาซิเตอร์ ( ชนิดอิเล็กโทรไลต์ ) อนุกรมเข้าในวงจรขดลวดสตาร์ท มีสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางตัดตัวคาปาซิสเตอร์และขดสตาร์ทออกจากวงจร

     1.คาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ ( Capacitor start motor )

     การทำงานของคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ เหมือนกับแบบสปลิทเฟสมอเตอร์ แต่เนื่องด้วยขดลวดชุดสตาร์ทต่ออนุกรมกับคาปาซิเตอร์ ทำให้กระแสที่ไหลเข้าในขดลวดสตาร์ทถึงจุดสูงสุดก่อนขดลวดชุดรัน จึงทำให้กระแสในขดลวดสตาร์ทนำหน้าขดลวดชุดรันซึ่งนำหน้ามากกว่าแบบสปิทเฟสมอเตอร์ คาปาซิเตอร์มอเตอร์จึงมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงมาก สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์ หลังจากสตาร์ทแล้วมอเตอร์หมุนด้วยความเร็วรอบถึง  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วสูงสุดสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีจากศูนย์กลาง คาปาซิเตอร์จะถูกตัดจากวงจรดังแสดงรูปวงจรการทำงาน



รูปแสดงการทำงานวงจรคาปาซิเตอร์สตาร์ทมอเตอร์

     2.คาปาซิเตอร์รันมอเตอร์ ( Capacitor run motor ) 
     ลักษณะโครงสร้างทั่วไปของคาปาซิเตอร์รันมอเตอร์เหมือนกับชนิดคาปาซิเตอร์สตาร์ท แต่ไม่มี สวิตช์แรงเหวี่ยง ตัวคาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลา ทำให้ค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ดีขึ้น และโดยที่คาปาซิเตอร์ต้องต่อถาวรอยู่ขณะทำงาน ดังนั้นคาปาซิเตอร์ประเภทน้ำมันหรือกระดาษฉาบโลหะ
     แต่สำหรับมอเตอร์ชนิดคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์จะต่ออยู่ในวงจรตลอดและเนื่องจากขดลวดชุดสตาร์ทใช้งานตลอดเวลา การออกแบบจึงต้องให้กระแสผ่านขดลวดน้อยกว่าแบบคาปาซิเตอร์สตาร์ท โดยการลดค่าของคาปาซิสเตอร์ลง ดังนั้นแรงบิดจึงลดลงกว่าแบบคาปาซิสเตอร์สตาร์ทแต่ยังสูงกว่าแบบสปลิทเฟสมอเตอร์
 


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิเตอร์รันมอเตอร ์

     3.คาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ ( Capacitor start and run motor )
     
ลักษณะโครงสร้างของคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรันมอเตอร์ชนิดนี้จะมีคาปาซิเตอร์ 2 ตัว คือคาปาซิเตอร์สตาร์ทกับคาปาซิเตอร์รัน คาปาซิเตอร์สตาร์ทต่ออนุกรมอยู่กับสวิตช์แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง หรือเรียกว่าเซ็นติฟูกัลสวิตช์ ส่วนคาปาซิเตอร์รันจะต่ออยู่กับวงจรตลอดเวลา คาปาซิเตอร์ทั้งสองจะต่อขนานกัน ซึ่งค่าของคาปาซิเตอร์ทั้งสองนั้มีค่าแตกต่างกัน
     มอเตอร์แบบคาปาซิเตอร์สตาร์ทและรัน ได้มีการออกแบบมีแรงบิดขณะสตาร์ทสูงขึ้นโดยคาปาซิสเตอร์รันต่อขนานกับคาปาซิเตอร์สตาร์ท เมื่อมอเตอร์ไฟฟ้าหมุนไปได้ความเร็วรอบ  75 เปอร์เซ็นต์ของความเร็วรอบสูงสุด ส่วนคาปาซิเตอร์รันต่ออยู่ในวงจรตลอดเวลาจึงทำให้มอเตอร์ที่มีกำลังสตาร์ทสูงและกำลังหมุนดีด้วยดังแสดงรูปวงจรการทำงาน
 


รูปแสดงวงจรการทำงานคาปาซิสเตอร์สตาร์ทและคาปาซิเตอร์รัน

     การกลับทางหมุน 

     การกลับทางหมุนการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์คือ กลับขดลวดขดใดขดหนึ่งขดสตาร์ทหรือขดรันเช่นเดีวยกันกับสปลิทเฟสมอเตอร์
 


รูปแสดงการกลับทางหมุนของคาปาซิเตอร์มอเตอร์

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )

อุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )
 
เครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) ของบ้านพักอาศัย ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ 9 ส่วน ดังนี้
1. แผงท่อทำความเย็น        (Cooling Coil)
2. คอมเพรสเซอร์               (Compressor)
3. แผงท่อระบายความร้อน (Condenser Coil)
4. พัดลมส่งลมเย็น            (Blower)
5. พัดลมระบายความร้อน   (Condenser Fan)
6. แผ่นกรองอากาศ 
( แอร์ )              (Air Filter)
7. หน้ากากเครื่องที่มีแผ่นเกล็ดกระจายลมเย็น (Louver)
8. อุปกรณ์ควบคุมสำหรับการเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้องตั้งความเร็วของพัดลมส่งลมเย็น ตั้งเวลาการทำงานของเครื่อง เป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่องปรับอากาศ 
( แอร์ ) เอง หรือแยกเป็นอุปกรณ์ต่างหากเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการควบคุมระยะไกล (Remote Control)  จากบริเวณอื่นๆ ภายในห้องปรับอากาศ ( แอร์ )
9. อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น (Metering Device) 

 หลักการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )
               วัฎจักรการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )  สารทำความเย็น ซึ่งเป็นของเหลว (ไม่มีสี กลิ่นและรสในปริมาณที่พอเหมาะจะไหลผ่านอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นเข้าไปยังแผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้องพัดลมส่งลมเย็นจะดูดอากาศ ( แอร์ ) ร้อนและชื้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ( แอร์ )  ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าของแผงท่อทำความเย็น เพื่อกรองเอาฝุ่นละอองขนาดใหญ่ออกไป  จากนั้นอากาศ ( แอร์ ) ร้อนชื้นจะคายความร้อนให้แก่สารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น ทำให้มีอุณหภูมิและความชื้นลดลงและถูกพัดลมส่งลมเย็นกลับเข้ามาสู่ห้องอีกครั้งหนึ่ง โดยผ่านแผ่นเกล็ดกระจายลม เพื่อให้ลมเย็นแพร่ไปสู่ส่วนต่างๆ ของห้องอย่างทั่วถึง สำหรับสารทำความเย็นเหลวภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อได้รับความร้อนจากอากาศ ( แอร์ ) ภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอ และไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งไอที่ได้นี้จะถูกส่ง ต่อไปยังแผงท่อระบายความร้อนซึ่งติดตั้งอยู่นอกอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศ ( แอร์ )  ภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง และไหลออกจากแผงท่อระบายความร้อนไปสู่อุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็นวนเวียนเป็นวัฎจักร      เช่นนี้ตลอดเวลา จนกว่าอุณหภูมิในห้องจะถึงระดับที่ตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิก็จะส่งสัญญาณให้เครื่องคอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่ง จึงประหยัดไฟฟ้าส่วนที่ป้อนให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้ แต่พัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ส่งลมให้ภายในห้อง จนเมื่ออุณหภูมิในห้องให้คอมเพรสเซอร์ทำงานโดยอัดสารทำความเย็นป้อนเข้าไปในแผงท่อทำความเย็นใหม่ดังนั้นถ้าเพิ่มสูงกว่าระดับที่ตั้งไว้อุปกรณ์ควบคุมก็จะส่งสัญญาณ ไม่ให้เย็นจนเกินไป ก็จะช่วยประหยัดค่าไฟได้ ซึ่งตามปกติควรตั้งไว้ที่ 25  C  

เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) แบบแยกส่วน (Split Type) ตัวเครื่องแบ่ง เป็น 2 ส่วน คือ 

                1.)  ส่วนที่อยู่ภายในห้องเรียกว่า แฟนคอยล์ยูนิต (Fan Coil Unit) มีหน้าที่ทำความเย็น ประกอบด้วยพัดลมส่งลมเย็น แผ่นกรองอากาศ 
( แอร์ )  หน้ากากพร้อมเกล็ด     กระจายลมเย็น
                2.)  อุปกรณ์ควบคุมที่ติดตั้งภายนอกห้อง เรียกว่า คอนเดนซิ่งยูนิต (Condensing Unit) ประกอบด้วยคอมเพรสเซอร์แผงท่อระบายความร้อนและพัดลมระบายความร้อนทั้งสองส่วนเชื่อมต่อกันด้วยท่อสารทำความเย็น  เครื่องแบบนี้นิยมใช้กันทั่วไปสำหรับบ้านเดี่ยวตามหมู่บ้าน บ้านชานเมือง บ้านในเมืองหรือตึกแถว ซึ่งมีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต ตัวแฟนคอยล์ยูนิต โดยมีทั้งแบบติดเพดาน ติดผนัง หรือแบบตั้งพื้น เครื่องแบบติดเพดานเหมาะกับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือเป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่ค่อนข้างยาว หรือไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งบนพื้นห้อง เครื่องแบบติดผนังเหมาะกับห้องทั่วไป ลักษณะห้องค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ส่วนเครื่องตั้งพื้นนั้นเหมาะกับห้องขนาดเล็ก เช่น ห้องนอนขนาดเล็กหรือห้องรับแขกขนาดเล็ก
การเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ประหยัดพลังงาน
-          ศึกษาหลักการทำงานเพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ในแต่ละรุ่น      
-          เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  
-          เลือกซื้อเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ติดฉลากแสดงว่ามีประสิทธิภาพ และรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูง
-          เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ขนาดไม่เกิน 25,000 บีทียู/ชมควรเลือกซื้อเครื่องที่ ติดฉลากแสดงค่าประสิทธิภาพหมายเลข 5
 เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่มีขนาดใหญ่กว่า 25,000 บีทียู/ชม.ควรเลือกซื้อเครื่องที่มีการใช้ไฟไม่เกิน 1.40 กิโลวัตต์ต่อ 1 ตัน
-          ความเย็นหรือมีค่า EER (Energy Efficiency Ratio) ไม่น้อยกว่า 8.6 บีทียู ชม./วัตต์ โดยดูรายละเอียดได้จากผู้จำหน่าย
-          มีคู่มือการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานและการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ
-          เลือกขนาดให้เหมาะสมกับขนาดของครัวเรือน  และพื้นที่ใช้สอย
-          เลือกเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่เหมาะสมกับพื้นที่ห้องโดยทั่วไป โดยขนาดความสูงของห้องปกติสูงไม่เกิน 3 เมตร ควรเลือกดังนี้
         พื้นที่     13-15   ตร..    ควรใช้ขนาด         8,000  บีทียู
         พื้นที่     16-17   ตร..    ควรใช้ขนาด       10,000  บีทียู
         พื้นที่          20   ตร..    ควรใช้ขนาด       12,000   บีทียู
         พื้นที่     23-24   ตร..    ควรใช้ขนาด       14,000  บีทียู
         พื้นที่          30   ตร..    ควรใช้ขนาด       18,000   บีทียู
         พื้นที่          40   ตร..    ควรใช้ขนาด       24,000   บีทียู
-           หรือเลือกโดยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้งานต่าง ๆ  ของเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ใช้ทำความเย็นให้แก่ห้องต่างๆ ภายในบ้าน โดยเฉลี่ย ความสูงของห้อง โดยทั่วไปที่ 2.5-3 เมตร อาจประมาณคร่าวๆ จากค่าต่อไปนี้
-          ห้องรับแขก ห้องอาหาร ประมาณ 15 ตร../ตันความเย็น
-          ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นหลังคา ประมาณ 20 ตร../ตันความเย็น
-          ห้องนอนที่เพดานห้องเป็นพื้นของอีกชั้นหนึ่งประมาณ 23 ตร../ตันความเย็น

การใช้เครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ให้มีการประหยัดพลังงาน

-          ศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด ทำความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้า
-          ปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้งานเพื่อการประหยัดพลังงานอย่างเคร่งครัด 

การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ )

                การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) ที่ผิดวิธีโดยเฉพาะในเครื่องแบบแยกส่วน นอกจากจะทำให้เครื่องทำความเย็นได้น้อยลงแล้วยังสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นอีกด้วยจึงควรให้ความสนใจดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
                1.ควรติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต และคอนเดนซิ่งยูนิตของเครื่องแบบแยกส่วนให้ใกล้กันมากที่สุด จะทำให้เครื่องไม่ต้องทำงานหนักในการส่งสารทำความเย็นให้ไหลไปตามท่อ ทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการเดินท่อและหุ้มฉนวนตลอดจนลดโอกาสการรั่วของสารทำความเย็น
 
                2.หุ้มท่อสารทำความเย็นจากคอนเดนเซอร์ไปยังแผงท่อทำความเย็น (Cooling Coil) ของเครื่องแบบแยกส่วนด้วยฉนวนที่มีความหนาประมาณ 0.5 นิ้ว หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำ เพื่อป้องกันมิให้มีสารทำความเย็นภายในท่อแลกเปลี่ยนความร้อนกับอากาศ ( แอร์ ) ภายนอกตามเส้นท่อ
 
                3.ตำแหน่งติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต(หรือเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) แบบติดหน้าต่าง)ควรอยู่ในที่ร่มไม่ถูกแสงแดดโดยตรง แต่อากาศ ( แอร์ ) ภายนอกสามารถถ่ายเทได้สะดวก ไม่ควรอยู่ในที่อับลม หรือคับแคบ ที่ว่างโดยรอบเครื่องต้องเพียงพอตามที่ผู้ผลิตแนะนำ
 
               4.ในสถานที่ซึ่งมีการติดตั้งคอนเดนซิ่งยูนิต (หรือเครื่องแบบหน้าต่าง)หลายๆชุด ต้องระวังอย่าให้ลมร้อนที่ระบายออกจากเครื่องชุดหนึ่งเป่าเข้าหาเครื่องอีกชุดหนึ่ง ควรให้ลมร้อนจากแต่ละเครื่องเป่าออกได้โดยสะดวก

               5. ในบางสถานที่ซึ่งมีลมพัดแรงตลอดเวลาในทิศทางเดียว ควรติดตั้งคอนเดนซิ่ง ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) แบบติดหน้าต่างให้อากาศ ( แอร์ ) ร้อนระบายออกจากตัวเครื่องอยู่ในทิศเดียวกับ กระแสลม อย่าให้ปะทะกับลมธรรมชาติ เพราะจะทำให้เครื่องระบายความร้อนได้ลำบาก
 
               6.ตำแหน่งติดตั้งแฟนคอยล์ยูนิต (หรือเครื่องปรับอากาศ ( แอร์ ) แบบติดหน้าต่างต้องให้ลมเย็นที่จ่ายออกจากตัวเครื่องสามารถกระจายไปทั่วทั้งห้อง
ลักษณะอาการต่างๆ ที่ไม่พึงประสงค์ รายละเอียดและวิธีการแก้ไข
                -               คอล์ยร้อนเสียงดัง     เสียงที่ดังมาจากคอย์ลร้อนนั้นอาจเกิดได้จากหลายกรณีเช่น โครงแอร์เสียงดัง พัดลมคอย์ล
ร้อนแตก ลูกปืนมอเตอร์เสีย ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้เรามีวิธีสังเกตและวิธีการแก้ไขดังนี้ 
1.             โครงแอร์เสียงดัง  จะมีอาการสั่นของโครงแอร์เนื่องมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เพราะถ้าคอมเพรสเซอร์มีอายุ       การใช้งานที่นานมากก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์ทำงานไม่นิ่งจึงทำให้เกิดการสั่นของโครงแอร์ได้ หรืออีกกรณีที่เป็นแอร์                 เก่าก็อาจเสียงดังได้เนื่องมาจากการขันสกรูไม่แน่นเวลาแอร์ทำงานจึงให้เกิดเสียงดังได้                                              
วิธีการแก้ไข  ถ้าแอร์สียงดังอันเกิดมาจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ก็ใหเราเปลี่ยนลูกยางรองฐานคอมเพรสเซอร์ใหม่ ถ้าเกิดจากการที่ขันสกรูไม่แน่นก็ให้ทำการขันสกรูใหม่ให้แน่น
2.             พัดลมคอย์ลร้อนแตก จะมีเสียงดังมากสาเหตมาจากการเสื่อมสภาพของใบพัดคอย์ลร้อนเพราะใบพัดคอย์ลร้อนนั้นจะเป็นพลาสติก หรือ อลูมิเนียม เมื่อเราใช้ไปนานๆ ก็จะทำให้ใบพัดนี้กรอบและจะแตกในที่สุดหรืออีกกรณีก็เกิดมาจากการแกว่งของมอเตอร์คอย์ลร้อนจึงทำให้ใบพัดหมุนไปโดนกับโครงแอร์ก็จะทำให้ใบพัดนั้นแตกได้เช่นกัน
วิธีการแก้ไข  ถ้าพัดลมคอย์ลร้อนแตกเนื่องมาจากการฉีกขาดของใบพัดก็ให้เราทำการปิดแอร์ทันทีเพื่อทำการเปลี่ยนใบพัดใหม่
3.        ลูกปืนมอเตอร์เสีย   จะมีเสียงดังไม่มากนักแต่ถ้าปล่อยเอาไว้นานๆ จะทำให้พัดลมคอย์ลร้อนแตกได้สาเหตเนื่องมาจากการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานเพราะลูกปืนนั้นต้องหมุนตลอดเวลาและร้อนจึงทำให้ลูกปืนนั้นเสื่อมสภาพได้เร็วหรืออีกกรณีคือ จารบีที่ใส่ไว้ไม่เกิดการแห้งหรือไม่หล่อลื่นดังนั้นเวลาหมุนจึงทำให้เกิดเสียงดัง
วิธีการแก้ไข  ให้ทำการถอดโครงแอร์ออกเพื่อทำการเปลี่ยนลูกปืนใหม่แต่กรณีนี้ต้องใช้เวลาพอสมควรเพราะต้องถอดอุปกรณ์หลายชิ้น
-               แอร์ไม่เย็น   สาเหตุของแอร์ที่ไม่เย็นนั้นเกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาขาด น้ำยาเกิน คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน
พัดลมคอย์ล ร้อนไม่ทำงาน เทอร์มอมิเตอร์เสีย
1.        น้ำยาขาด   ให้เราสังเกตบริเวณท่อทองแดงที่ออกมาจากคอย์ลร้อนจะมีน้ำแข็งเกาะอยู่นั้นเป็นอาการเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาในระบบมีหลายกรณีที่รั่วคือ รั่วที่คอย์ลร้อน รั่วที่ท่อส่งน้ำยา รั่วที่วาวล์ หรือรั่วที่คอย์ลเย็น หากเกิดกรณีเช่นนี้ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาอีกมากมายหลายกรณี หากนานเกินไปอาจะถึงขั้นต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์
วิธีการแก้ไข  ให้เราหมั่นสังเกตว่าแอร์เราเย็นตามปรกติหรือไม่ถ้าไม่เย็นเนื่องมาจากการรั่วของน้ำยาก็ให้ทำการซ่อมรั่วโดยเร่งด่วน โดยปรกติเราควรมีการเช็คแอร์ประจำปีบ้าง
2.        คอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน  เกิดมาจากหลายกรณีเช่น น้ำยาในระบบขาดเนื่องมาจากเกิดการรั่วของระบบจึง  ทำให้(Low presser) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหาย หรือคอมเพรสเซอร์ร้อนจนเกินไปจึงทำให้ (Over load) ตัดเพื่อป้องกันคอมเพรสเซอร์เสียหายเช่นกันแต่ถ้าแอร์ตัวดังกล่าวไม่มีระบบป้องกันคอมเพรสเซอร์ก็จะทำให้คอมเพรสเซอร์เสียหายได้ และในกรณีที่เกิดการช๊อตกันระหว่างขดลวดในคอมเพรสเซอร์เนื่องมาจากน้ำยาในระบบขาดถึงขั้นวิกฤติ อีกกรณีคือน้ำมันในคอมเพรสเซอร์แห้งกรณีนี้ต้องเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์อย่างดียว
      วิธีการแก้ไข  หากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงานในกรณีที่ตัวป้องกันคอมเพรสเซอร์ตัดก็ให้ทำการซ่อมรั่วให้เรียบร้อยก่อนการเปิดใช้แอร์ แต่ถ้าเป็นในกรณีที่เกิดจากการช๊อตของขดลวดหรือนำมันในคอมเพรสเซอร์แห้งให้ทำการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ใหม่
3.        พัดลมคอย์ลร้อนไม่ทำงาน เกิดมาจากหลายกรณีเช่น เกิดการช๊อตกันระหว่างขดลวด หรือตัวเก็บประจุเสียจะมีอาการคือมอเตอร์จะหมุนช้าหรือไม่หมุนเลย
วิธีการแก้ไข  หากเกิดจาการช๊อตกันของขดลวดในระบบให้ทำการเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่ ถ้าเกิดมาจากตัวเก็บเสียก็ให้ทำการเปลี่ยนตัวเก็บประจุตัวใหม่
4.        เทอร์มอมิเตอร์เสีย  เนื่องมาจากตัวเทอร์มอมิเตอร์นั้นทำมาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จึงมีอายุการใช้งานได้ไม่นานเหมือนสวิตซ์ธรรมดา และเทอร์มอมิเตอร์บางรุ่นก็สามารถที่จะเปลี่ยนจากอุณหภูมิที่เป็นองศาเซลเซียสมาเป็นองศาฟาเรนไฮร์โดยอัตโนมัติ หรือบางทีลายแผ่นปริ๊นต์สกปรกหรือขาด จึงทำให้ไม่สามารถกดเทอร์มอมิเตอร์เพื่อสั่งให้แอร์ทำงงานได้
วิธีการแก้ไข   ก่อนทำการใช้เทอร์มอมิเตอร์ควรอ่านคู่มือการใช้ให้เข้าใจเสียก่อน และถ้าเกิดมาจากการเสียของเทอร์มอ -มิเตอร์ก็ให้ทำการส่งกลับศูนย์ซ่อม