วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Ph diagramและไซโครเมตริก


1.Ph diagram

วัฏจักรของกำรท ำควำมเย็นบน p-h ไดอะแกรม



กระบวนกำรบน p-hไดอะแกรม

 • กระบวนการจาก 1-2 เป็ นกระบวนการอัดไอ อุปกรณ์คือ คอมเพรสเซอร์(compressor)
 • กระบวนการจาก 2-3 เป็ นกระบวนการควบแน่น อุปกรณ์คือ คอนเดนเซอร์ (condenser)
 • กระบวนการจาก 3-4 เป็ นกระบวนการทอตติง (throttling)อุปกรณ์คือ วาล์วขยาย (expansion valve)
 • กระบวนการจาก 4-1เป็ นกระบวนการระเหย อุปกรณ์คือเครื่องทำระเหย (evaporator



2.แผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) เป็นแผนภูมิที่บอกถึงรายละเอียดของอากาศที่สภาวะต่าง ๆ เชื่อว่าหลายท่านที่ทำงานในสายงานเครื่องกล เช่น งานปรับอากาศและความเย็นคงจะรู้จักแผนภูมินี้ และการที่เราเข้าใจแผนภูมินี้จะทำให้เราเข้าใจถึงธรรมชาติและกระบวนการการเปลี่ยนแปลงของสภาวะของอากาศตลอดจนสามารถนำมาใช้งานและวิเคราะห์แก้ใขปัญหาในงานที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้น

ความสำคัญของอากาศและการใช้งาน    เชื่อว่าทุกคนคงจะรู้จักอากาศ (Air) กันเป็นอย่างดี อากาศมีอยู่ทุก ๆ ที่เราทุกคนใช้อากาศในการหายใจ อากาศเป็นตัวช่วยในการติดไฟของเชื้อเพลิงในการหุงต้มหรือในเครื่องยนต์หรือเครื่องจักรต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมและการผลิต อากาศถูกนำมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการต่าง ๆ มากมาย ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ รายละเอียดตลอดจนธรรมชาติของอากาศซึ่งถ้าเราจะอธิบายกันแบบลอย ๆ นั้นก็ยากที่จะเข้าใจแผนภูมิ (Chart) หนึ่งที่จะนำมาอธิบายคุณสมบัติของอากาศได้ดีก็คือแผนภูมิไซโครเมตริก (Psychometric Chart) ซึ่งในแผนภูมิดังกล่าวจะรวบรวมความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ของอากาศให้ง่ายต่อการเข้าใจในรายละเอียด


คุณสมบัติสำคัญ ๆ ของอากาศ   ในงานทางวิศวกรรม เช่น งานปรับอากาศหรือทำความเย็นนั้นคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเป็นสิ่งที่มีผลกับสิ่งที่เราต้องการควบคุม เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์และอื่น ๆ บทความต่อไปนี้จะอธิบายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของอากาศเพื่อให้เป็นที่เข้าใจอย่างง่าย ๆ ดังนี้คือ

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

อุปกรณ์ควบคุมในระบบทางกล

1.การควบคุมความดันสารทำความเย็น

       ลิ้นลดความดันชนิดควบคุมด้วยความร้อน (Thermostatic Expansion Valve – Txv) ลิ้นลดความดันชนิดควบคุมด้วยความร้อน (Thermostatic Expansion Valve – Txv) : การทำงานจะอาศัยความร้อนที่ออกจากเครื่องระเหยเป็นตัวควบคุม โดยใช้ความดันที่กระทำกับแผ่นไดอะแฟรมระร่วมกันควบคุมการปิดเปิดของลิ้น คือความดันของน้ำยาในเครื่องระเหย (evaporator pressure-P1) ความดันของสปริง (spring pressure-P2) และความดันที่เกิดจากความร้อนในกระเปาะ (bulb pressure –P3) แบ่งการทำงานเป็น 2 แบบ คือ

 แบบทำงานโดยใช้ความดันภายในเครื่องระเหย (TXV

 แบบ internal equalizing) แบบทำงานโดยใช้ความดันจากภายนอกเครื่องระเหย (TXV แบบ external equalizing)


2.การป้องกันความดันสูง/ต่ำ


      วาล์วบริการ (service valves) คืออุปกรณ์ที่ติดตั้งในระบบทำความเย็น ประกอบด้วยวาล์วบริการด้านความดันต่ำ (low side หรือ suction service valve) ติดตั้งอยู่ด้านความดันต่ำของระบบ เช่น ติดตั้งที่ทางเข้าคอมเพรสเซอร์ หรือติดตั้งอยู่กับท่อสารทำความเย็นด้านดูดที่ออกจากเครื่องระเหย และวาล์วบริการด้านความดันสูง (high side หรือ dischange service valve) ซึ่งจะติดตั้งอยู่ด้านความดันสูงของระบบ เช่น ติดตั้งที่ทางออกของคอมเพรสเซอร์ หรือติดตั้งอยู่กับท่อสารทำความเย็นเหลวที่ออกจากคอมเพรสเวอร์ ในการปฏิบัติงานเพื่อการบริการและตรวจวิเคราะห์ปัญหาในระบบทำความเย็น จะใช้เกจแมนิโฟลด์ต่อเข้ากับวาล์วบริการของระบบทำความเย็น



3.การป้องกันน้ำมันเข้าระบบ


      สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกลในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสูญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัด


4.การป้องกันน้ำแข็งอุดตันในระบบ


น้ำยาป้องกันและกำจัด ตะกรัน/สนิม ในระบบ ชิลเลอร์ NEW  CLEAN   103  ขนาดบรรจุ 1 แกลอน = 20 ลิตร
เป็นเคมีภัณฑ์ชนิดน้ำ ใช้สำหรับเติมในระบบชิลเลอร์ของคูลลิ่ง ทาวเวอร์ ทั้งแบบทรงกลม และแบบทรงสี่เหลี่ยม
เพื่อรักษาคุณภาพของน้ำในระบบให้อยู่ในค่าปกติ  NC. 103 เป็นเคมีภัณฑ์รุ่นใหม่ล่าสุด มีคุณสมบัติพิเศษต่างจากเคมีภัณฑ์ชนิดเดียวกันอื่นๆ
ในท้องตลาดทั่วไป คือ  NC. 103  เป็นเคมีภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อทำปฏิกิริยากับตะกรันและสนิม ที่ปนเปื้อนในน้ำเย็น ในระบบชิลเลอร์ เท่านั้น
โดยจะไม่ทำปฏิกิริยากับ โลหะหนัก/ท่อต่างๆ ในระบบชิลเลอร์

ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ

เครื่องปรับอากาศสามารถแยกตามระบบการทำงานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ตามการติดตั้ง คือ

1. ส่วนที่ติดตั้งภายในบ้าน (Indoor Unit) ทำหน้าที่ดูดซับความร้อนทำให้อากาศภายในห้องเย็นลงหรือเรียกว่า คอยล์เย็น (Evaporator) ประกอบด้วยท่อ แผงคอยเย็น พัดลม และอุปกรณ์วัด และควบคุมอุณหภูมิห้อง
2. ส่วนที่ติดตั้งภายในบ้าน (Outdoor Unit) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการระบายความร้อนหรือที่เรียกว่า คอยล์ร้อน (Condensing), ส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนของน้ำยาทำความเย็นหรือที่เรียกว่า คอมเพรสเซอร์ และน้ำยาแอร์ และอีกส่วนทำหน้าที่ในการลดความดัน และอุณหภูมิของน้ำยาแอร์หรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device)


หากแบ่งตามหน้าที่การทำงาน สามารถแบ่งส่วนประกอบของแอร์ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. คอยล์เย็น (Evaporator)
เป็นชุดของแอร์ที่ถูกติดตั้งภายในห้องหรืออาคารประกอบด้วยแผงคอยล์เย็นที่ติดกับส่วนท่อน้ำยาแอร์ที่บรรจุน้ำยาแอร์ไหลเวียนภานในส่งต่อไปยังคอมเพรสเซอร์โดยขณะไหลเวียนผ่านท่อจะมีพัดลมคอยดูดอากาศภายในห้องจากด้านล่างเครื่องผ่านท่อ และแผงคอยล์เย็นเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร้อน และผ่านอากาศเย็นออกมายังช่องแอร์ในด้านปลาย มีส่วนประกอบ ดังนี้

     1.1 แผงคอยล์เย็น มีรูปร่างเป็นเส้นท่อขดไปมาตามความยาวของเครื่อง และจะมีแผ่นครีบอลูมิเนียมบางๆ หุ้มขดท่อเหล่านั้นอยู่ แผงขดท่อจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อถอดหน้ากากส่งลม หรือหน้ากากรับลมกลับของเครื่องออก
   
     1.2 มอเตอร์พัดลมคอยล์เย็น มีใบพัดลมคอยล์เย็นเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม โดยได้กำลังมาจากมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำชนิด 1 เฟส ทำหน้าที่กระจายลมเย็นให้กับพื้นที่ที่ต้องการการปรับอากาศ
     1.3 ชุดควบคุมระบบปรับอากาศ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับควบคมการทำงานของเครื่องปรับอากาศ โดยทั่วไประบบปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาควบคุมระบบการทำงาน ซึ่งการควบคุมแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมีความเที่ยงตรงสูงกว่าแบบเก่าที่ใช้กลไกทางกลในการควบคุม
     1.4 อุปกรณ์ควบคุมแรงดันสารทำความเย็น การควบคุมปริมาณสารความเย็นในระบบปรับอากาศแบบแยกส่วนใช้การควบคุมโดยท่อรูเข็ม (Capillary Tube – Cap. Tube) โดยติดตั้งระหว่างคอนเดนเซอร์กับอีวาปอเรเตอร์ ทำหน้าที่ลดแรงดันและควบคุมปริมาณสารทำความเย็นก่อนเข้าคอยล์เย็น

2. คอยล์ร้อน (Condensing)
เป็นชุดของแอร์ที่ถูกติดตั้งภายนอกอาคารเหมือนกัน ประกอบด้วยแผงคอยล์ร้อนหรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ลดความดัน (Throttling Device) มีลักษณะเป็นท่อทองแดงขนาดเล็ก ขดเป็นแผงไปมาอยู่ด้านหลังถัดจากใบพัดลม และอีกส่วนจะเป็นพัดลมที่ช่วยในการระบายความร้อนของน้ำยาแอร์ ทำให้น้ำยาแอร์มีอุณหภูมิลดลง แต่ความดันคงที่ก่อนไหลเวียนเข้าสู่แผงคอยล์เย็นเพื่อลดอุณหภมิในห้องต่อไป
     2.1 คอมเพรสเซอร์ และน้ำยาแอร์ (Evaporator)  
เป็นส่วนอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งนอกอาคารด้านข้างพัดลมระบายความร้อน ทำหน้าที่ในการเก็บ และควบคุมการไหลเวียนของน้ำยาแอร์ในระบบ และทำให้น้ำยาแอร์มีอุณหภูมิ และความดันสูงขึ้นก่อนส่งผ่านไปยังตามท่อของส่วนคอยล์ร้อนต่อไป
4-1
     2.2 แผงคอยล์ร้อน มีลักษณะเป็นท่ออลูมิเนียมหรือทองแดงขนาดเล็ก ขดไปมาเป็นแผงอยู่ภายใน คีบอลูมิเนียมแผ่นเล็กๆเรียงซ้อนกัน ทำหน้าที่เป็นพื้นที่สำหรับระบายความร้อนของสารทำความเย็นที่ส่งผ่านมาจากคอมเพรสเซอร์ 
     2.3 มอเตอร์พัดลมคอยล์ร้อน เป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำ 1 เฟส ทำหน้าที่เป็นตัวระบายความร้อนให้กับสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นก๊าซ ให้มีสถานะเป็นของเหลวเพื่อส่งผ่านเข้าสู่อุปกรณ์ควบคุมแรงดันสารทำความเย็น